การติดตั้งและเลือกใช้เครนโรงงานชนิดแขนยื่น (Jib Crane)

    เครนโรงงานชนิดแขนยื่น (Jib Crane) มีหลายรูปแบบการติดตั้งที่สามารถใช้งานตามความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละงานและสถานที่ ดังนี้

    • เครนแขนยื่นแบบเสายืน (Pillar-Type Jib Crane) ประเภทนี้มีเสาติดตั้งยึดที่พื้นเพื่อรองรับคานเครนแขนที่ยื่นออกมาเพื่อนำรอกมาแขวนเพื่อยกวัสดุเคลื่อนย้ายไปมาบนรางเครนแขน ทั้งนี้ สามารถออกแบบชุดหมุนที่เสาให้คานเครนแขนเคลื่อนที่สวิงไปมาในทิศทางซ้ายขวา องศาหมุนที่ท 180 – 360 องศา
    • เครนแขนยื่นแบบยึดผนัง (Wall-Mounted Jib Crane) ประเภทนี้จะติดตั้งเครนแขนด้วยการยึดกับเสาหรือผนังที่มีอยู่แล้วกับโครงสร้างโรงงาน ซึ่งจะประหยัดกว่าแบบเสายืน จากนั้นติดตั้งคานเครนแขนให้ยื่นออกมาเพื่อนำรอกมาแขวนเพื่อยกวัสดุเคลื่อนย้ายไปมาบนรางเครนแขน และสามารถออกแบบให้เครนแขนสวิงได้สูงสุด 180 องศา
    • เครนแขนยื่นแบบเคลื่อนที่หน้าหลัง (Long Travelling Wall Jib Crane) ประเภทนี้จะติดตั้งเหมือนประเภทเครนแขนยื่นแบบยึดผนัง แต่แตกต่างกันตรงที่มีเครนประเภทนี้ออกแบบให้มีคานล้อวิ่งบนรางเลื่อนเคลื่นที่หน้าหลังได้

    การเลือกใช้เครนโรงงานชนิดแขนยื่น (Jib Crane)  นั้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่การติดตั้งและความต้องการใช้งาน ความสูงไม่เกิน 6 เมตร ความกว้างของคานเครนไม่เกิน 4-5 เมตร พิกัดน้ำหนักยกสูงสุดไม่เกิน 5 ตัน

    • กรณีเครนแขนยื่นแบบเสายืน (Pillar-Type Jib Crane) มักถูกเลือกใช้ในพื้นจำกัดที่ไม่มีโครงสร้างให้ยึดหรือรองรับได้ จึงจำเป็นต้องตั้งเสายึดจากพื้นเพื่อให้สามารถติดตั้งได้และใช้งานได้เฉพาะพื้นที่จำกัด
    • กรณีเครนแขนยื่นแบบเสายืน (Pillar-Type Jib Crane) มักถูกเลือกใช้ในพื้นจำกัดที่มีโครงสร้างให้ยึดหรือรองรับได้ จึงไม่จำเป็นต้องตั้งเสายึดจากพื้น แบบนี้จะประหยัดกว่า มักใช้ในพื้นที่แคบและไม่สูงมาก
    • กรณีเครนแขนยื่นแบบเคลื่อนที่หน้าหลัง (Long Travelling Wall Jib Crane) เป็นเครนประเภทพิเศษและคานเครนไม่ต้องสวิง เครนประเภทนี้มักถูกใช้ในพื้นที่จำกัดและใช้งานเป็นลักษณะ Work Station ที่เคลื่อนที่แนวยาว

    แต่ละชนิดของเครนแขนยื่นมีลักษณะเฉพาะเจาะจงและเหมาะสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน การเลือกและติดตั้งเครนแขนยื่นแบบที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับความต้องการของงานและสถานที่ที่คุณใช้งาน

    Similar Posts