10 ขั้นตอนง่ายๆ เลือกสเป็คเครนให้ตรงตามความต้องการ

1. วิเคราะห์ภาระงานและชั่วโมงการทำงาน ที่จะใช้ยกเพื่อเลือกใช้รอกให้ตรงพิกัดน้ำหนักยกที่เหมาะสม กรณีพิกัดยกมากกว่า 12.5 ตัน ความกว้างคานเครนเกิน 30 เมตร แนะนำเลือกใช้เครนชนิดคานคู่จะแข็งแรง

▪️ ระบุ _____ กี่ตัน

2. กำหนดความสูงของระยะที่จะใช้ยก จากตะขอรอกใต้คานเครนถึงพื้นกี่เมตร จุด Lifting Height ตามภาพ  

  1. ระยะยกคุ้มค่าเหมาะกับงานทุกประเภท (ห้อยข้าง) เลือกรอกรุ่น Low Head Room จุด A ตามภาพ
  2. ระยะยกมาตรฐาน/วิ่งบนรางโค้ง (ห้องล่าง) เลือกรอกรุ่น Standard Head Room จุด A ตามภาพ

เน้นประหยัดต้องการระยะยกเพิ่มขึ้น – เลือกรุ่น Low Head Room

เน้นทนทานต้องการใช้รางโค้ง – เลือกรุ่น Standard Head Room   

ถ้าต้องการความคุ้มค่า แนะนำรอก CMAK Low Head Room ราคาถูกกว่ารุ่น Standard ความสูง 6-9 เมตร มีสต้อกพร้อมส่งในไทย

3. กำหนดชนิดความเร็วการยก เรามีคำแนะนำสำหรับรองรอกไฟฟ้า มีดังนี้                           

เน้นประหยัด – เลือกชนิด 1 สปีด (เร็ว)    

เน้นทนทาน – เลือกชนิด 2 สปีด (ช้า-เร็ว)

ถ้าได้ทั้งประหยัดและทนทาน แนะนำ CMAK EcoCrane รอก 2 สปีด คู่กับเครนจะได้ราคารวมทั้งโครงการเท่ากับ 1 สปีด

4. กำหนดระยะความกว้างของคานเครน (Span)  

เน้นประหยัด – ถ้าคานเครนกว้างไม่เกิน 6/9/12 เมตร ยกไม่เกิน 3 ตัน เราแนะนำให้ใช้ เหล็ก I-Beam มาทำคานจะประหยัดกว่า

เน้นทนทาน – คานเครนถ้ากว้างเกิน 12 เมตร ยกเกิน 3 ตัน เราแนะนำให้ใช้เหล็ก Plate มาประกอบจะแข็งแรงกว่า   

ถ้าได้ทั้งประหยัดและทนทานแนะนำ CMAK EcoCrane เครนไม่เกิน 3 ตันที่กว้างไม่เกิน 12 เมตรจะใช้ I-Beam แต่ถ้าเครนเกิน 3 ตัน และกว้างเกิน 12 เมตร ทุกแบบจะใช้มาตรฐาน JIS1000 ที่ทำให้คานแข็งแรง และจะจำลอง Cutting Plan ให้ใช้เหล็กคุ้มค่าที่สุด รอยต่อน้อยที่สุด

5. เลือกประเภทเครนเหนือศีรษะ ให้สอดคล้องตามพิกัดน้ำหนักยกที่จะใช้งานตามข้อ 1 ถึง 4 และพื้นที่การใช้งานโดยแบ่ง ดังนี้         

  • Fixed Hoist รอกขึ้นลงอยู่กับที่ นิยมใช้งานลิฟต์ขนสินค้าหรือแค่ยกขึ้นลง
  • Monorail Crane เครนรางเดี่ยว ขึ้น+ลง, ซ้าย+ขวาสามารถดัดเป็นรางโค้ง รางวงกลม โดยใช้เหล็ก I-Beam นิยมใช้งานไม่เกิน 5 ตัน
  • Single Girder Crane เครนคานเดี่ยว ฟังก์ชั่นการควบคุมทิศทางขึ้น+ลง,ซ้าย+ขวา,หน้า+หลัง นิยมใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปไม่เกิน 12.5 ตัน ความกว้างเครนไม่เกิน 30 เมตร 
  • Double Girder Crane เครนคานคู่ ขึ้น+ลง, ซ้าย+ขวา, หน้า+หลัง นิยมใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปตั้งแต่ 10 ตัน ความกว้างเครนเกิน 20 เมตรขึ้นไป
  • Gantry Crane Single Girder เครนมีขา 2 ข้าง คานเดี่ยว = ขึ้น+ลง, ซ้าย+ขวา, หน้า+หลัง นิยมใช้งานในพื้นที่โล่งหรือกลางแจ้งไม่เกิน 12.5 ตัน กว้างไม่เกิน 30 เมตร ทางวิ่งเครนอยู่บนพื้น
  • Gantry Crane Double Girder) เครนมีขา 2 ข้าง คานคู่ ขึ้น+ลง,ซ้าย+ขวา, หน้า+หลัง นิยมใช้งานในพื้นที่โล่งหรือกลางแจ้งตั้งแต่ 10 ตัน กว้างเกิน 20 เมตร ทางวิ่งเครนอยู่บนพื้น
  • Semi Gantry Crane Single Girder เครนมีขา 1 ข้าง คานเดี่ยว ขึ้น+ลง, ซ้าย+ขวา, หน้า+หลัง นิยมใช้งานในโรงงานที่มีพื้นที่จำกัดไม่เกิน 12.5 ตัน กว้างไม่เกิน 30 เมตร เครนข้างนึงวิ่งบนรางที่ตั้งบนเสา และอีกข้างนึงวิ่นบนรางที่อยู่บนพื้น 
  • Semi Gantry Crane Double Girder เครนมีขา 1 ข้าง คานคู่ ขึ้น+ลง, ซ้าย+ขวา, หน้า+หลัง นิยมใช้งานในโรงงานที่มีพื้นที่จำกัดตั้งแต่ 10 ตัน กว้างเกิน 20 เมตร เครนข้างนึงวิ่งบนรางที่ตั้งบนเสา และอีกข้างนึงวิ่นบนรางที่อยู่บนพื้น
  • Under Slung Overhead Crane เครนคานเดี่ยว/คานคู่ ขึ้น+ลง, ซ้าย+ขวา, หน้า+หลัง ชุดขับเคลื่อนเครนแบบวิ่งใต้รางนิยมใช้งานในโรงงานที่ต้องการพื้นที่ยกสุดปลายเครนไม่เกิน 5 ตัน ความกว้างไม่เกิน 20 เมตร

6. กำหนดความยาวและเลือกชนิดโครงสร้างทางวิ่งเครนหน้าหลัง หรือรันเวย์ (Runway)

  • รันเวย์ยาว _____ กี่เมตร 
  • เลือกประเภท [ A] สี่เหลี่ยมตัน หรือ [B] รางรถไฟ

รางแบบเหล็กสี่เหลี่ยมตัน [Square Bar] ราคาถูกแต่การซ่อมบำรุงยุ่งยากมาก แต่รางแบบทางรถไฟ [Railway] ดูแลซ่อมบำรุงรักษาง่ายกว่าแต่ราคาแพง ทั้งนี้ ในแง่ความแข็งแรงทนทานอยู่ที่การคำนวณขนาดรองรับโหลด ถ้าคำนวณถูกต้องก็รองรับน้ำหนักได้เท่ากัน

7. เลือกชนิดคานล้อ ล้อ และมอเตอร์ขับเครนหน้าหลัง สัมพันธ์กันกับข้อ 5    

  • เลือกมอเตอร์ขับ 1 สปีด หรือ 2 สปีด
  • มอเตอร์ขับล้อเฟือง ภาพ 1 นิยมใช้กันมากเนื่องจากราคาถูก แนะนำใช้กับเครนคานเดี่ยวไม่เกิน 10 ตัน
  • มอเตอร์ขับเพลาชนิดลิ่ม ภาพ 2 นิยมใช้ในดีไซน์ยุโรปและเครนขนาดใหญ่ เพราะราคาจะประหยัดกว่าแบบเพลาสไปลน์ แต่ทนกว่าแบบเฟือง)
  • มอเตอร์ขับเพลาชนิดเฟืองสไปลน์ ภาพ 3 นิยมใช้ในดีไซน์ยุโรปและเครนขนาดใหญ่ ราคามอเตอร์จะสูงหน่อยแต่ทนทานกว่า และซ่อมบำรุงง่ายใช้เวลาน้อย
  • ถ้าอยากใช้งานยาวๆ ทุกแบบสามารถใส่อินเวอร์เตอร์ช่วยควบคุมการขับให้นิ่มนวลจะลดแรงบิดการกระชากระหว่างมอเตอร์กับล้อ ลดปัญหาเฟืองสึก ลิ่มหักหรือเพลาหลวมขาด

เน้นประหยัด – เลือกมอเตอร์ขับเฟือง

เน้นทนทาน – เลือกมอเตอร์ขับเพลาสไปลน์

ถ้าได้ทั้งประหยัดและทนทานแนะนำ CMAK EcoCrane มอเตอร์ขับเฟือง 1 สปีดรอบเร็ว แต่ควบคุมด้วยอินเวอร์เตอร์จะใช้สบายใจไร้กังวลกับปัญหา

8. ระบบควบคุมเมนและระบบขับเครนสัมพันธ์กับข้อ 7

เน้นประหยัด – ตู้ไฟระบบแมกเนติก (ขับกระชาก) 

เน้นทนทาน – ตู้ไฟระบบอินเวอร์เตอร์ (ขับนิ่มนวล)   

ได้ทั้งประหยัดและทนทานแนะนำ CMAK EcoCrane ระบบ 1 สปีดรอบเร็ว แต่ควบคุมด้วยอินเวอร์เตอร์ และใส่อุปกรณ์ ป้องกันครบเพื่อให้ใช้งานได้สบายใจไร้กังวล แต่ราคาเบาๆ

9A. ระบบรางจ่ายไฟชุดเครนหน้าหลังจะสัมพันธ์กับความยาวรันเวย์ข้อ 6  

  • รางสายไฟ C-Track ก็ใช้ได้แต่ไม่นิยมเพราะสายไฟมันห้อยมีโอกาสเกี่ยววัตถุขาดเสียหายง่าย แต่บางพื้นที่ที่มีไอสารเคมี ไอระเหยร้อนชื้น ที่ไม่เหมาะกับรางไฟที่มีทองแดงก็ต้องใช้ C-Track
  • รางไฟไฮโทรรีล อันนี้รางไฟแบบไต้หวันที่เป็นชนิดรางพลาสติกหุ้มทองแดงมีคอลเล็คเตอร์แปรงถ่านทองแดงที่ติดกับเครนเป็นสะพานไฟจ่ายกระแสไฟไปที่ตัวเครน
  • รางไฟกล่อง PVC อันนี้รางไฟแบบยุโรปที่เป็นชนิดรางกล่องพีวีซีหุ้มทองแดงมิดชิด มีคอลเล็คเตอร์แปรงถ่านทองแดงที่ติดกับเครนเป็นสะพานไฟจ่ายกระแสไฟไปที่ตัวเครน       

เน้นประหยัด – ใช้ HytroRail

เน้นทนทาน – ใช้ PVC Power Rai

ได้ทั้งประหยัดและทนทานแนะนำ CMAK EcoCrane ระบบรางไฟควบคุมหน้าหลังชนิด HytroRail แบบยาวตลอดไม่มีรอยต่อ

9B. ระบบรางจ่ายไฟชุดขับขึ้นลงซ้ายขวาจะสัมพันธ์กับความกว้างคานเครนข้อ 4       

9B.1 รางสายไฟชนิด C-Track                                       

แต่ขอแนะนำว่าอย่าใช้รางซีที่ความหนาน้อยกว่า 1.6 มม. เพราะจะเกิดปัญหาเหล็กบางทำให้ส่วนปลายรางพับหรืององ่ายในช่วงรอยต่อราง ทำให้ลูกล้อสายไฟวิ่งสะดุดและติดขัดจนทำให้คนใช้งานต้องดึงกระชากจนเสียหาย                                      

9B.2 รางสายไฟชนิดลูกล้อใต้รางเครน                          

สามารถเลือกใช้ได้หลายแบบ แต่เราขอแนะนำสำหรับงานเบาหรือระยะความกว้างสั้นๆ ไม่เกิน 6/9/12 เมตร เพราะลูกล้อจะถูกกระชากตลอดทำให้ชำรุดง่าย                                                         

10. ระบบความปลอดภัยที่ต้องมีตามกฎหมายไทยกำหนด ผู้ผลิตควรจัดให้มีมาแต่แรกนะครับ ไม่ควรปล่อยให้เป็นภาระของลูกค้ามาติดตั้งเพิ่มเองภายหลัง โดยมีลิสต์รายการ องค์ประกอบเบื้องต้นที่ต้องคำนึงถึงดังนี้

  • ลิมิตสวิชท์ตัดรอกยกขึ้นสุด
  • ลิมิตสวิทช์ตัดระยะเคลื่อนที่รางสั้นซ้ายขวา
  • ลิมิตสวิทช์ตัดระยะเคลื่อนที่รางยาวหน้าหลัง
  • ยางกันกระแทกและกันชนรางสั้นซ้ายขวา
  • ยางกันกระแทกและกันชนรางยาวหน้าหลัง
  • กลไกตัดการทำงานฉุกเฉิน Emergency
  • สัญญาณเสียงและแสงเตือนขณะใช้งาน
  • ป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกที่ปลอดภัย (SWL)
  • ชุดควบคุมตัดการทำงานเมื่อยกน้ำหนักเกิน
  • บันได แพลตฟอร์ม ทางเดินบนเครน

สุดท้ายนี้ในการเลือกใช้เครนโรงงาน อย่าลืมที่จะเลือกผู้ผลิตและจำหน่ายที่มีประสบการณ์และความเชื่อถือได้ ด้วยความน่าเชื่อถือที่มาพร้อมกับการให้บริการหลังการขาย นี่คือการเติมเต็มความมั่นใจและความสะดวกสบายสำหรับคุณ

Similar Posts