ปัญหาคานเครนแอ่นตัวเมื่อยกเต็มโหลดของ SWL (ค่าน้ำหนักยกที่ปลอดภัย) สาเหตุเพราะอะไร?

    ปัญหาคานเครนแอ่นตัวเมื่อยกเต็มโหลดของ SWL (ค่าน้ำหนักยกที่ปลอดภัย) ต้องย้อนกลับไปดูตั้งแต่การคำนวณออกแบบเครนตัวนี้นะว่า ใช้ค่าความแอ่นตัวอ้างอิงมาตรฐานอะไร

    ตาราง มาตรฐานค่า Deflection (การแอ่นตัว) ของ Girder (คานเครน) สำหรับ Overhead Crane และ Gantry Crane

    Deflection LimitStandard มาตรฐานอ้างอิง
    L/750BS 466:1984
    DIN 15018
    ISO 4301-5
    < 50T; IS 800-1984
    L/888CMAA #70
    ASME B30.2
    L/1000JIS > 50T; IS 800-1984

    เราจะใช้มาตรฐานอะไรดีที่สุดคงตอบไม่ได้ แต่จะอธิบายเพิ่มเติมแต่ละมาตรฐานให้เข้าใจ 

    📌 L/750 ทางยุโรปจะใช้ค่า Deflection Limit นี้, L/888 ทางฝั่งอเมริกาจะใช้ค่านี้ ซึ่งวิศวกรไทยหลายท่านนำมาใช้คำนวณก็อาจจะพบว่า เครนแอ่นตัวลงมามากมีความแข็งเพียงพอน้อยต่อการรับแรงเมื่อยกเต็มโหลด

    ⭐ แต่..ยุโรปกับอเมริกา เค้าใช้ค่านี้ผ่าน สาเหตุเพราะเค้าจะคำนวณออกแบบเครนตามกรุ๊ปรอกที่เลือกโดยดูจากภาระและชั่วโมงการทำงาน ซึ่งมักจะเลือกพิกัดรอกที่สูงขึ้นเพื่อจะได้ชั่วโมงการทำงานที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่าง ใช้งานยก 10 ตัน แบบ Medium เกิน 8 ชม.ต่อวัน ใช้รอก 10 ตัน กรุ๊ป 2M จะเกินภาระก็จะเพิ่มกรุ๊ปหรือเพิ่มพิกัดเป็น 15 ตัน ทำให้เครนถูกออกแบบให้รับได้ 15 ตัน ด้วยค่า L/750 หรือ L/888 เวลาเทสเต็มโหลด 15 ตัน หรือ15ตัน+(10%หรือ25%) ก็จะแอ่นตัวลงมาไม่เกินค่าที่ยอมรับได้ (แต่ก็เกือบเกิน) ซึ่งเวลาใช้งานจริงยกสูงสุด 10 ตันไม่เต็มโหลดจึงไม่เจอปัญหาคานดีดเด้ง ลองอ่านบทความที่เกี่ยวข้องจะเข้าใจ

    📌 L/1000 ทางเอเชียจะใช้ค่านี้ตามมาตรฐานญี่ปุ่น ซึ่งวิศวกรไทยส่วนใหญ่ก็ใช้ค่านี้มาคำนวณคานเครน เพราะเครนแอ่นตัวลงมาน้อยกว่ามาตรฐานอื่นและมีความแข็งเพียงพอต่อการรับแรงเมื่อยกเต็มโหลด

    ⭐ แต่..การใช้ L/1000 ทำให้เครนแข็งแรงขึ้นก็จะต้องเพิ่มขนาดเหล็กให้หนาขึ้นเป็นผลให้น้ำหนักของคานเครนเพิ่มขึ้นตาม ซึ่งจะไปสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ ให้ต้องเพิ่มขนาดให้สามารถรับภาระน้ำหนักและแรงกดที่มากขึ้นตาม เช่น คานล้อและล้อ มอเตอร์ขับเครน รางและทางวิ่งเครนล้วนต้องเพิ่มขนาดไปด้วยนะ

    🖍️ สรุป การเลือกใช้มาตรฐานอ้างอิงในการออกแบบเครนเหนือศีรษะ

    👉 ถ้าจะใช้ค่า L/750 หรือ L/888 ก็ต้องเลือกกรุ๊ปรอกไฟฟ้าให้สัมพันธ์กับเครนที่จะใช้งาน เครนจะมีรูปทรงไม่ใหญ่ ประหยัดเหล็ก แต่รอกอาจจะกรุ๊ปสูงหน่อย อายุการใช้งานรอกจะยาว

    👉 ถ้าจะใช้ค่า L/1000 เครนจะมีรูปทรงใหญ่ ใช้เหล็กหนาหน่อย คานล้อและล้อ มอเตอร์จะเพิ่มขนาดตามไปด้วย แต่รอกก็จะกรุ๊ปไม่สูง ทำให้ต้องหมั่นดูแลซ่อมแซมรอกไฟฟ้ากันหน่อยนะ

    🌈 แต่..เมืองไทยนิยมที่จะเน้นให้เครนแข็งแรงไว้ก่อน ส่วนรอกไฟฟ้าก็จะซื้อตามที่พิกัดน้ำหนักที่จะใช้งานพอดี ไม่ได้เลือกตามกรุ๊ปหรือเผื่อการใช้งานที่ภาระหนักหรือชั่วโมงการทำงานมากขึ้น จึงทำให้รอกไฟฟ้ามีปัญหาระบบไฟฟ้าเสีย ระบบเบรกและมอเตอร์เสื่อมอายุหรือไหม้ก่อนเวลาอันควร นี่ยังไม่รวมการใช้งานรอกไฟฟ้าผิดประเภทนะ

    👉 รอกญี่ปุ่น รอกไต้หวัน ก็แบ่งเป็นรุ่นใช้งานเบา/ปานกลาง/หนัก แต่ส่วนใหญ่ก็เลือกรุ่นเบาเพราะราคาถูกแต่ไปใช้งานหนักกัน รอกจึงอายุการใช้งานสั้นต้องเปลี่ยนอะไหล่ ทำให้อะไหล่วางจำหน่ายเยอะ แต่ซ่อมไปซ่อมมาแพงนะ 😁

    Similar Posts