การออกแบบและติดตั้งเครนเหนือศีรษะชนิดขาสูงหรือเครนสนาม Gantry Crane อย่างปลอดภัย
ทำไมเครนเหนือศีรษะชนิดขาสูงหรือเครนสนาม Gantry Crane จึงต้องมีความเชี่ยวชาญและพิถีพิถันในการออกแบบและติดตั้งค่อนข้างสูง?
เนื่องจากเครนประเภทนี้มักถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานยกน้ำหนักมากที่ไม่มีโครงสร้างอาคารมารองรับ จึงทำให้ต้องออกแบบให้เครนมีขาสูงเพื่อรับคานให้วิ่งบนพื้นได้ ส่วนใหญ่นิยมใช้งานกลางแจ้งนอกอาคาร โครงสร้างเครนประเภทนี้จึงต้องถูกออกแบบและติดตั้งด้วยขั้นตอนที่คำนึงถึงปลอดภัยสูงเพื่อให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีแสงแดดและอันตรายจากแรงลมพายุฝนได้
เครนเหนือศีรษะชนิดขาสูงหรือเครนสนาม (Gantry Crane) มีหลายประเภทตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้
- Gantry Crane (เครนเหนือศีรษะชนิดขาสูงหรือเครนสนามชนิดเต็มตัว) มีรูปแบบของชนิดคานเครน 2 แบบ
- แบบชนิดคานเดี่ยวมีความสามารถยกบรรทุกน้ำหนักในระดับเบาถึงกลางไม่เกิน 12.5 ตัน ความกว้างของเครนสูงสุดไม่เกิน 30 เมตร โครงสร้างคานเครนเดี่ยวจะถูกติดตั้งในส่วนบนของขาสูง โครงสร้างขาเครนและคานล้อจะวิ่งอยู่บนรางทางวิ่งเครนที่พื้น
- แบบชนิดคานคู่ มีความสามารถยกบรรทุกที่มีน้ำหนักในระดับเบาถึงหนักมากโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องพิกัดน้ำหนักและความกว้างของคานเครน โครงสร้างคานเครนคู่ที่ติดตั้งในส่วนบนของขาสูง โครงสร้างขาเครนและคานล้อจะวิ่งอยู่บนรางทางวิ่งเครนที่พื้น
- Semi-Gantry Crane (เครนเหนือศีรษะชนิดขาสูงหรือเครนสนามชนิดครึ่งตัว) มีรูปแบบของชนิดคานเครน 2 แบบ
- แบบชนิดคานเดี่ยวมีความสามารถยกบรรทุกน้ำหนักในระดับเบาถึงกลางไม่เกิน 12.5 ตัน ความกว้างของเครนสูงสุดไม่เกิน 30 เมตร โครงสร้างคานเครนจะถูกติดตั้งบนขาสูงข้างเดียวและอีกข้างเป็นเสาคงที่มีรางทางวิ่งอยู่บนเสานั้นเป็นแนวยาวขนานร่วมกับโครงสร้างอาคาร และโครงสร้างขาเครนและคานล้อข้างนึงจะวิ่งอยู่บนรางทางวิ่งเครนที่พื้น และอีกข้างวิ่งบนรางทางวิ่งเครนที่อยู่บนเสา
- แบบชนิดคานคู่ มีความสามารถยกบรรทุกที่มีน้ำหนักในระดับเบาถึงหนักมากโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องพิกัดน้ำหนักและความกว้างของคานเครน โครงสร้างคานเครนจะถูกติดตั้งบนขาสูงข้างเดียวและอีกข้างเป็นเสาคงที่มีรางทางวิ่งอยู่บนเสานั้นเป็นแนวยาวขนานร่วมกับโครงสร้างอาคาร และโครงสร้างขาเครนและคานล้อข้างนึงจะวิ่งอยู่บนรางทางวิ่งเครนที่พื้น และอีกข้างวิ่งบนรางทางวิ่งเครนที่อยู่บนเสา
- Port Terminal Gantry Crane (เครนสนามหรือเครนขาสูงสำหรับงานท่าเรือ) มีรูปแบบตามรางทางวิ่งเครน 2 แบบ
- Rubber Tired Gantry Crane (RTG) (เครนสนามล้อยาง)มีล้อยางเหนือเครนแทนขาสูงที่อิงกับราง ใช้ในสถานที่ที่ต้องการความเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ใช้ในการบรรทุกเคลื่อนย้ายในพื้นที่คอนเทนเนอร์เทอร์มินัล
- Rail-Mounted Gantry Crane (RMG) (เครนสนามติดราง) ติดตั้งบนรางเหนือพื้นและสามารถเคลื่อนที่ลงล่างตามรางที่ติดตั้งอยู่กับที่ ใช้ในการบรรทุกเคลื่อนย้ายในพื้นที่คอนเทนเนอร์เทอร์มินัล
แต่ละประเภทของเครนเหนือศีรษะชนิดขาสูงหรือเครนสนามมีลักษณะและความสามารถที่แตกต่างกัน การเลือกประเภทที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับลักษณะงานและพิกัดน้ำหนักของวัสดุที่จะยกขึ้นด้วยเครนนั้นๆ