สรุปรวมกฎหมายเกี่ยวกับเครนหรือปั้นจั่นฉบับอัพเดท ที่ทุกคนควรทราบ

    1. กฎกระทรวงแรงงาน  กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2564 

    • สาระสำคัญของกฎกระทรวงแรงงานฉบับนี้กำหนดให้มี 3 หมวด ได้แก่ 
    1. หมวดเครื่องจักร 
    2. หมวดปั้นจั่น 
    3. หมวดหม้อน้ำ
    • หมวดเครื่องจักรมี 6 ประเภท ดังนี้
    1. เครื่องปั๊มโลหะ
    2. เครื่องเชื่อมไฟฟ้าและเครื่องเชื่อมก๊าซ
    3. รถยก
    4. ลิฟต์
    5. เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง 
    6. รอก 
    • หมวดปั้นจั่นมี 4 ประเภท ดังนี้
    1. ปั้นจั่นเหนือศีรษะและปั่นจั่นขาสูง
    2. ปั้นจั่นหอสูง 
    3. รถปั้นจั่นหรือเรือปั้นจั่น 
    4. อุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับปั้นจั่น 
    • หมวดหม้อน้ำมี 4 ประเภท ดังนี้
    1. หม้อน้ำ
    2. หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน
    3. ภาชนะรับความดัน 
    4. ภาชนะบรรจุก๊าซทนความดัน

    📌 คุณจิรายุ เอี่ยมสมร กรรมการผู้จัดการ TTMCRANE หนึ่งในคณะอนุกรรมการวิศวกรรมยกหิ้วและปั้นจั่น ร่วมกับคณะอนุกรรมการวิศวกรรมเครื่องจักรกลหนักและเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างในคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมเครื่องกลวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) จัดเสวนาเรื่อง “มีอะไรใหม่!! ใน กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564” รายละเอียดสามารถดาวน์โหลดได้ที่ 1) เอกสารกฎหมายปั้นจั่น 2564 ฉบับเต็ม 2) เอกสารเสวนากฎหมายปั้นจั่น 2564** 3) เอกสารเปรียบเทียบกฎหมายปั้นจั่น 2552 vs 2564 

    **Credited By วสท. และกองความปลอดภัยแรงงาน

    2. กฎกระทรวงแรงงาน การขึ้นทะเบียนและการอนุญาตให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2564 

    กฎกระทรวงแรงงานฉบับนี้สอดคล้องตาม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554   โดยมีสาระสำคัญของกฎกระทรวงฯ กำหนดว่า ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง จัดฝึกอบรม หรือให้คำปรึกษา ต้องขึ้นทะเบียนตามประเภทของผู้ให้บริการ โดยประเภทของผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภทตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

    1. กฎกระทรวงฯ การระงับป้องกันอัคคีภัย 
    2. กฎกระทรวงฯ สารเคมีอันตราย
    3. กฎกระทรวงฯ ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
    4. กฎกระทรวงฯ ความร้อน แสง และเสียง
    5. กฎกระทรวงฯ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ
    6. กฎกระทรวงฯ การทำงานในที่อับอากาศ

    รายละเอียดสามารถดาวน์โหลดได้ที่ เอกสารกฎหมายการขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการด้านความปลอดภัย 2564  ดังนั้น ผู้ใดที่ให้บริการทดสอบเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ ตามกฎกระทรวง 2564 จะต้องขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาติเป็นผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง จัดฝึกอบรม หรือให้คำปรึกษา ตามที่กระทรวงแรงงานกำหนด สรุปโดยย่อ ดังนี้

    1. ประเภทบุคคลธรรมดา ตามมาตรา 9 ระบุวา บุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง จัดฝึกอบรม หรือให้คำปรึกษา จะต้องขึ้นทะเบียนต่อสำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน คุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียน การขึ้นทะเบียน การออกใบแทนการขึ้นทะเบียน การเพิกถอน ทะเบียนการกำหดค่าบริการ และวิธีการให้บริการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
    2. ประเภทนิติบุคคล ตามมาตรา 11 ระบุว่า นิติบุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง จัดฝึกอบรม หรือให้คำปรึกษา จะต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี คุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียน การขึ้นทะเบียน การออกใบแทนการขึ้นทะเบียน การเพิกถอน ทะเบียนการกำหดค่าบริการ และวิธีการให้บริการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

    รายละเอียดและเอกสารในการขึ้นทะเบียนสามารถอ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่ ทั้งนี้ ความแตกต่างของผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ให้บริการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบปั้นจั่น ประเภทบุคคลธรรมดาตามมาตรา 9 และ ประเภทนิติบุคคลตามมาตรา 11 น่าจะเป็นเรื่องขอบเขตความรับผิดชอบตามกฎหมายทางแพ่งและอาญาที่ย่อมมีมากกว่าแบบประเภทบุคคล ดังนั้น ถ้าสถานประกอบการมีมูลค่าควรเลือกผู้ให้บริการประเภทนิติบุคคลตามมาตรา 11 จะมีความมั่นคงกว่า

    📌 บริษัท โททัล เมคคานิค จำกัด และ บริษัท ไทรทัน เมคคานิค จำกัด ขึ้นทะเบียนวิศวกรเครื่องกลในนามนิติบุคคลตามมาตรา 11 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบผู้ที่ได้รับอนุญาต คลิกที่นี่ 

    3. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบการทดสอบปั้นจั่น ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2565

    สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ คือ ข้อ 2 นายจ้างต้องจัดให้มีการทดสอบการติดตั้งปั้นจั่น – เมื่อติดตั้งเสร็จ – ปั้นจั่นที่มีการหยุดใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป – และทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามประเภท และลักษณะของงาน ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานตามแบบการทดสอบการติดตั้งปั้นจั่นเมื่อติดตั้งเสร็จ ปั้นจั่นที่มีการหยุดใช้งาน และส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ (แบบ ปจ. 1) หรือปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ (แบบ ปจ. 2)

    • ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ (แบบ ปจ. 1) 

    รอกหรือเครนที่พิกัดน้อยกว่า 1 ตัน กฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องมีการทดสอบ แต่เพื่อความปลอดภัยควรมีการตรวจสอบบำรุงรักษาให้มีสภาพปลอดภัยต่อการใช้งานตามคู่มือผู้ผลิต

    • ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ (แบบ ปจ. 2)

    TTMCRANE ได้รวบรวมเอกสารและแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด 1) เอกสารแบบการทดสอบปั้นจั่น 2565   2) ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์ม ปจ.1 อัพเดท 2565

    4. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การแจ้งกำหนดการให้บริการ และการรายงานสรุปผลการให้บริการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน ของผู้รับใบสำคัญและผู้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 กันยายน 2566

    สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ คือ กำหนดผู้ใดที่ให้บริการด้านความปลอดภัยในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง จัดฝึกอบรม หรือให้คำปรึกษา ซึ่งเป็นผู้รับใบสำคัญและผู้รับใบอนุญาตตามประเภทที่ให้บริการจะต้องปฏิบัติ ดังนี้

    1. แจ้งกำหนดการให้บริการแต่ละครั้งก่อนให้บริการไม่น้อยกว่า 7 วัน
    2. ส่งรายงานสรุปผลการให้บริการ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการให้บริการ

    รายละเอียดและเอกสารในการแจ้งข้อมูลการให้บริการสามารถอ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่  ทั้งนี้ กลุ่มงานทะเบียนความปลอดภัยในการทำงานได้จัดทำลิงค์เข้าระบบรายงานสรุปผลการให้บริการของผู้รับใบสำคัญ และผู้รับใบอนุญาต จำนวน ๕ แบบ ท่านสามารถแจ้งการรายงานสรุปผลการให้บริการตามลิงค์ด้านล่างนี้

    ที่แบบฟอร์มLink
    1แบบ กภ.รง. ๕ การรายงานสรุปผลการตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายคลิ้กที่นี่
    2แบบ กภ.รง.๖ การรายงานสรุปผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกจ้างในกรณีที่มีการใช้สารเคมีอันตรายคลิ้กที่นี่
    3แบบ กภ.รง.๗ การรายงานสรุปผลการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าคลิ้กที่นี่
    4แบบ กภ.รง.๘ การรายงานสรุปผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการคลิ้กที่นี่
    5แบบ กภ.รง.๙ การรายงานสรุปผลการทดสอบเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และภาชนะรับความดันคลิ้กที่นี่

    ถ้าสถานประกอบการใดก็ตามที่มีรอก เครน หรือปั้นจั่น จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย กฎหมายทุกฉบับมีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้ใช้งานให้เกิดสวัสดิภาพในการทำงาน และหากจำเป็นต้องเลือกใช้ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยเพื่อตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รอก เครน หรือปั้นจั่น จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า เป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายกำหนด

    Similar Posts